ทดลองใช้ What’s Next Red Board UNO+WiFI
บอกตามตรง เหตุผลที่ซื้อบอร์ดนี้มา ก็เพราะมันมี “สีแดง” (55) เพราะไม่ค่อยได้เห็นบอร์ด Arduino ที่มีสีแดง เห็นสีมันสวยดี ประกอบกับตอนแรกก็คิดว่าเป็น Arduino รุ่น Limited อะไรทำนองนั้น เพราะเห็นว่า made in Italy เหมือนกัน
แต่พอได้รับบอร์ด ถึงได้รู้ว่า มันไม่ใช่อย่างที่คิด จริงๆ แล้วเป็นคนละบริษัทกันเลย แต่ไหนๆ ก็หลวมตัวซื้อมาแล้ว จะเก็บเข้าโหลไว้เปล่าๆ ก็กระไรอยู่ ก็เอามาทดลองใช้ซักหน่อยก็แล้วกัน ก็เลยเป็นที่มาของบทความนี้ สำหรับหน้าตาของบอร์ดนี้ก็เป็นดังนี้
บอร์ดนี้ ผลิตโดยบริษัท What’s Next โดยเป็นบอร์ด Arduino UNO Compatible แต่จริงๆ แล้วก็ไม่ได้ Compatible ซะทีเดียว เนื่องจากไม่สามารถ Upload โปรแกรมไปรันได้ทันที ต้อง Setup กันซะก่อน
การเซ็ทอัป
มีขั้นตอนดังนี้
- ให้เปิด Arduino IDE แล้วเลือก File > Preference
- ในช่อง Additional Boards Manager URLs: ให้ copy Link ด้านล่างนี้ไปใส่
http://download.whatsnext.shop/platforms/package_whatsnext_index.json
3. ไปที่ Tools > Board > Boards Manager และพิมพ์ what’s next AVR Boards ในช่อง serach จะเห็น package ของ what’s next AVR ขึ้นมาให้เลือกเพื่อ install
4. ดาวน์โหลด Driver จาก Link http://download.whatsnext.shop/drivers/whatsnext_drv.exe และติดตั้ง
5. สามารถเขียนโปรแกรมได้ตามปกติ โดยเลือกบอร์ดชื่อ red
การใช้ WiFi
นอกจากบอร์ดนี้จะใช้เป็น Arduino UNO Compatible แล้ว บอร์ดนี้ยังมีความสามารถด้าน WiFi อีกด้วย โดยได้ใส่ ESP8266 เอาไว้ในบอร์ดทำให้สามารถเขียนโปรแกรมผ่านเครือข่ายได้ด้วย โดยก่อนอื่นให้ติดตั้ง Library WiFi ของบอร์ดนี้เสียก่อน โดยให้ download ไฟล์ตาม Link ด้านล่าง
http://download.whatsnext.shop/libraries/WiFiConn.zip
จากนั้นให้ไปที่ Sketch > Include Library > Add .ZIP Library จากนั้นเลือกไฟล์ .zip ที่ดาวน์โหลดมา เสร็จแล้วให้ปิดและเปิด Arduino IDE ใหม่
เมื่อเปิด Arduino IDE ขึ้น มาใหม่ ให้ไปที่ File > Examples > WiFiConn จะพบตัวอย่างไฟล์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- CheckFirmwareVersion เอาไว้ตรวจสอบ version ของ Firmware
- ScanNetworks เอาไว้สแกนหา Access Point ของ WiFi
- ConnectNoEncryption เชื่อมต่อกับ WiFi แบบไม่มีการเข้ารหัส
- ConnectToAnEncryptedNetwork เชื่อมต่อกับ WiFi แบบที่มีการเข้ารหัส WPA/WPA2
- WiFiChatServer
- WiFiRestServer
- WiFiWebServer และ WiFiWebClient
ก็สามารถใช้งานได้เหมือนกับ ESP8266 ทั่วไป ซึ่งก็น่าจะตอบโจทย์ของคนที่ชอบ Arduino UNO แต่ต้องการใช้เครือข่ายด้วย
ก็ขอจบการทดลองแต่เพียงเท่านี้ ก็เข้าโหลไปตามระเบียบ